เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 8. อุทเทสวิภังคสูตร

[319] จิตที่เรียกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวก พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
ตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย
สังโยชน์คือความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไป
ตามอุเบกขา พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจาก
อุเบกขาตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยสังโยชน์คือความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามอทุกขมสุข พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในอทุกขมสุขตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีใน
อทุกขมสุขผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในอทุกขมสุขว่า ‘ไม่
ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
จิตที่เรียกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’ เป็นอย่างนี้
[320] ความสะดุ้งเพราะตามยึดมั่น1 เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชน2ในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดใน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 8. อุทเทสวิภังคสูตร

ธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง รูปนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้ เพราะ
ความที่รูปแปรผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงมีวิญญาณคล้อยตามความแปรผันของรูป1
ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรม2 อันเกิดจากการคล้อยตามความแปรผัน
ของรูป ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ เขาจึงเป็นผู้มีความ
หวาดหวั่น คับแค้น ห่วงใย และเพราะตามยึดมั่น เขาจึงสะดุ้ง
พิจารณาเห็นเวทนา ...
พิจารณาเห็นสัญญา ...
พิจารณาเห็นสังขาร ...
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
บ้าง วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้ เพราะความที่วิญญาณแปร
ผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงมีวิญญาณคล้อยตามความแปรผันของวิญญาณ ความสะดุ้ง
และความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเกิดจากการคล้อยตามความแปรผันของวิญญาณ
ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ เขาจึงเป็นผู้มีความหวาดหวั่น
คับแค้น ห่วงใย และเพราะตามยึดมั่น เขาจึงสะดุ้ง
ความสะดุ้งเพราะตามยึดมั่น เป็นอย่างนี้แล
[321] ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด